วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รูบิเดียม

Rubidium (Rb)
รูบิเดียม



เลขอะตอม 37 เป็นธาตุที่ 4 ของหมู่ I A (ไม่นับไฮโดรเจน) ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะอัลคาไล
น้ำหนักอะตอม 85.47 amu
จุดหลอมเหลว 39 c
จุดเดือด (โดยประมาณ) 688 c
ความหนาแน่น (จากการคำนวณ) 1.532 g/cc ที่ 20 c
เลขออกซิเดชันสามัญ +1


การค้นพบ
รูบิเดียมค้นพบโดย Kirknoff และ Bunsen ในปี ค.ศ. 1861 เมื่อเขาทั้งสองได้พบเส้นสเปกตรัมใหม่ ในแถบแดงเข้มของสเปกตรัมของแร่ lepidodite ที่มาจาก Saxony
ต่อมา Bunsen ได้พยายามเตรียมธาตุนี้ในรูปธาตุอิสระ โดยนำรูบิเดียวไฮโดรเจนทาร์เตรตมาเผากับคาร์บอน แต่เขาได้รูบิเดียมที่มีความบริสุทธิ์เพียง 18 % เท่านั้น
Hevesy เป็นคนแรกที่สามารถเตรียมธาตุ Rb ได้สำเร็จ โดยนำ RboH เหลวมาแยกสลายด้วยไฟฟ้า
ชื่อของธาตุนี้มาจากคำลาติน rubidus หมายถึงแดงเข้ม

การใช้ประโยชน์
เนื่องจากขาดแหล่งแร่หลักเป็นเหตุให้เกิดอุปสรรค์ในการผลิตธาตุนี้ในปริมาณมากและราคาถูก (เปรียบเทียบกับ Na, K, Li) การใช้ประโยชน์ของธาตุนี้จึงมีขีดจำกัด การใช้ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดได้แก่ การใช้ในหลอดสูญญากาศและ photocell ส่วนการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ยังอยู่ในขั้นการทดลองและการวิจัย

ความเป็นพิษ
ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่ารูบิเดียมเป็นพิษต่อมนุษย์ แต่เนื่องจากธาตุนี้ไวต่ออากาศและน้ำมาก เวลาใช้จึงต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก ต้องเก็บรักษาไว้ในเคโรซีนหรือน้ำมันที่คล้ายคลึงกันอย่างอื่น นอกจากนี้แล้วยังต้องหลีกเลี่ยงการให้โลหะนี้มาสัมผัสกับผิวหนัง เพราะทำให้ผิวหนังไหม้ เกิดอาการผื่นแดงและคันได้

Isolation

รูบิเดียมไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยวิธีเดียวกันกับที่สร้างโซเดียมเพราะว่าโลหะโพแทสเซียมถูกสร้างขึ้นจากการอิเล็กโทรลิซิสจากรูบิเดียมคลอไรด์เหลวซึ่งละลายได้ง่ายในเกลือเหลว

cathode: Rb+(l) + e- _____ Rb (l)

anode: Cl-(l) _____ 1/2Cl2 (g) + e-

หรือมันอาจจะถูกสร้างขึ้นมาจากปฏิกิริยาของโลหะโซเดียมกับรูบิเดียมคลอไรด์ที่เหลวและร้อน

Na + RbCl _____ Rb + NaCl

นี่เป็นปฏิกิริยาที่คงที่และภายใต้สภาพรูบิเดียมนี้ มันระเหยออกได้ง่ายและจะถูกกำจัดออกไปจากโซเดียมที่ไม่บริสุทธิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น