วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โพแทสเซียม

Potassium (K)
โพแทสเซียม



เลขอะตอม 19 เป็นธาตุที่ 3 ของหมู่ IA (ไม่นับไฮโดรเจน) ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะอัลคาไล
น้ำหนักอะตอม 39.102 amu
จุดหลอมเหลว 63.4 c
จุดเดือด 1637 c
ความหนาแน่น 0.856 g/cc ที่ 18 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +1

โพแทสเซียมเป็นธาตุที่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยามากที่สุดธาตุหนึ่ง สารประกอบหลายชนิดมีความสำคัญ เป็นธาตุประจำสำหรับการเจริญเติบโตของพืช และจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอย่างปกติของคนและสัตว์


การค้นพบ
สารประกอบของโพแทสเซียมรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณในพระคำภีร์เก่า (Old Testament) ได้มีการกล่าวถึง "lye" ในที่นี้หมายถึงโพแทสเซียมคาร์บอเนต มาแยกสลายด้วยไฟฟ้า ได้โลหะสีเงินและตามความเป็นจริงแล้ว โพแทสเซียมเป็นธาตุแรกที่ค้นพบโดยกระบวนการการแยกสลายด้วย ไฟฟ้า (electrolysis)

การใช้ประโยชน์
โพแทสเซียมในรูปธาตุอิสระใช้ประโยชน์ไม่มากนักที่สำคัญได้แก่ใช้เตรียมโพแทสเซียมเปอร์ออกไซด์ ใช้เตรียมโลหะเจือที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อน เช่น NaK และใช้เตรียม รีเอเจนต์ในห้องปฏิบัติการหลายชนิด เป็นต้น

ความเป็นพิษ
ถึงแม้โพแทสเซียมในรูปของอิออนเป็นธาตุจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชและจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอย่างปกติโดยมนุษย์และสัตว์

โปตัสเซียมเป็นอิเล็กโทรไลท์ ที่พบส่วนใหญ่ในของเหลวภายในเซลล์ ทำงานร่วมกับโซเดียมเพื่อช่วยควบคุมสมดุลของของเหลวในเซลล์ และมีความสำคัญในการควบคุมสมดุลอันนี้ให้เป็นปกติ อัลโดสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมแอดรีนัลจะเป็นตัวคอยควบคุมการขับถ่ายโป ตัสเซียม การใช้ยา เช่นยาขับปัสสาวะ คอร์ติโซน หรือ อัลโดสเตอโรน ท้องร่วงหรืออาเจียนอย่างรุนแรง เหงื่อออกมากเกินไป การผ่าตัดใหญ่หรือบาดแผลใหญ่ ความเครียด เกลือที่มากเกินไปในอาหาร เป็นปัจจัยที่ทำให้โปตัสเซียมในร่างกายลดลง หน้าที่ภายในเซลล์ช่วยควบคุมของเหลวและสมดุลของอิเล็กโทรไลท์ภายในเซลล์ และยังจำเป็นสำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อ และการส่งสัญญาณของการกระตุ้นประสาท เป็นตัวสำคัญในการควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ หากขาดโปตัสเซียมนานๆ ทำให้เกิด มีการสะสมโซเดียมในหัวใจและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ทำให้การเผาผลาญกลูโคสไม่ดีพอเกิดโรคน้ำตาลในเลือดต่ำ กล้ามเนื้อไม่มีแรง เหนื่อยง่ายและนอนไม่หลับ การเต้นหัวใจไม่เป็นปกติ บวมผิดปกติทางประสาท ผนังลำไส้ไม่มีกำลัง ทำให้เกิดอาหารไม่ย่อยและทำให้ท้องผูกตและปอดทำงานล้มเหลว อาการเป็นพิษ ในโรคไต ความสามารถของไตที่จะขับโปตัสเซียมอาจไม่ดีพอ เป็นผลให้เกิดโปตัสเซียมมากเกินไป และมีอาการเหล่านี้คือ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ เจ็บหัวใจ กล้ามเนื้อไม่มีแรงและเกิดอัมพาต
แหล่งอาหารที่พบมากที่สุดคือ มันฝรั่ง ( โดยเฉพาะเปลือก ) และกล้วย นอกจากนี้ยังพบในปลา เนื้อ นม เนย โยเกิร์ต บริเวอร์ยีสต์ โมลาส ( MOLASSES ) หรือน้ำเหลืองอ้อย ข้าวต่างๆ ( ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ) รำข้าวสาลี แป้ง – ถั่วเหลือง ถั่ว เม็ดอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดผักชี ยี่หร่า ผักต่างๆ โดยเฉพาะผักสีเขียว และผลไม้ เช่น กล้วย ส้ม มะม่วง มะละกอ เชอรี่ แอปเปิล ผลไม้แห้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น