วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลิเทียม

Lithium (Li)ลิเทียม


เลขอะตอม 3 เป็นธาตุแรกของหมู่ IA (ไม่นับ H) ในตารางธาตุจัดเป็นโลหะ และโลหะอัลคาไล
น้ำหนักอะตอม 6.939 amu
จุดหลอมเหลว 179 c
จุดเดือด (โดยประมาณ) 1317 c
ความหนาแน่น (จากการคำนวณ) 0.534 g/cc ที่ 20 c
เลขออกซิเดชันสามัญ +1

การค้นพบ


ลิเทียมค้นพบโดย Arfvedson ในปี ค.ศ. 1877 ในแร่ etalite
ในปี ค.ศ. 1855 Bunsen และ Matthiessen สกัดธาตุอิสระของ Li ได้เป็นครั้งแรก

การใช้ประโยชน์


ถึงแม้ Li จะเป็นโลหะแต่ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้เป็นโลหะโครงสร้าง เพราะขาดสมบัติทางความร้อนและเป็นโลหะที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเกินไป แต่ Li ก็มีสมบัติทางเคมีและทางกายภาพพิเศษที่เอื้ออำนวยการใช้ประโยชน์ของโลหะนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้งานเฉพาะ ดังนี้
1. ใช้ทำโลหะเจือโดยผสมกับโลหะอื่น ๆ(สำหรับจุดประสงค์ข้างต้นอาจใช้โลหะเจือของ Ba กับ
2. เป็นรีเอเจนต์ (reagent) ในปฏิกิริยาเคมี เช่น ใช้เป็นตัวรีดิวซ์และตัวเดิมไฮโดรเจน (ในรูปของไฮไดรด์)
3. เป็นตัวขจัดแก๊ส (degasifier) และตัวช่วยทำให้โลหะเหลว เช่น ทองแดง เหล็กบริสุทธิ์ โดยใช้ร่วมกับ O 2 , S, N2 หรือ H2
4. ใช้เตรียมน้ำยา Grignard และเป็นตัวเร่งในบางปฏิกิริยา
5. ใช้ในอุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์

ความเป็นพิษ

โลหะ Li เป็นพิษมากกว่าโลหะอัลคาไลอื่น ๆ แต่ความเป็นพิษก็ยังจัดอยู่เกณฑ์ต่ำ โลหะนี้เป็นธาตุที่ไม่จำเป็นสำหรับร่างกาย ความเป็นพิษจึงมีสาเหตุจากการที่โลหะนี้ (ในรูปของอิออน) เข้าไปทำให้ Na-K-Ca ในเซลล์ของร่างกายเสียสมดุลไป ถึงแม้ Li จะว่องไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าโลหะอัลคาไลอื่น ๆ แต่ก็ควรระมัดระวังเวลาใช้โลหะนี้ เพราะอาจติดไฟหรือระเบิดได้

ลิเทียมเป็นโลหะที่เบาที่สุดในบรรดาโลหะทั้งหมด และมีความหนาแน่นเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำ ด้วยลิเทียมเป็นโลหะสีเงินอ่อนนิ่มมากจนตัดด้วยมีดคมๆ ได้ ลิเทียมมีสมบัติอย่างโลหะแอลคาไลทั้งหลาย นั่นคือมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว และพร้อมที่จะสูญเสียอิเล็กตรอนตัวนี้ไปเป็นไอออนบวก ทำให้มีอิเล็กตรอนในระดับชั้นพลังงานที่ไม่ครบถ้วน เนื่องจากกรณีดังกล่าว ทำให้ลิเทียมทำปฏิกิริยาในน้ำได้ง่าย และไม่ปรากฏโดยอิสระในธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ลิเทียมยังถือว่าทำปฏิกิริยายากกว่าโซเดียม ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีที่คล้ายกัน
เมื่ออังลิเทียมไว้เหนือเปลวไฟ มันจะให้สีแดงเข้มออกมา แต่เมื่อเผาไหม้โดยตรง เปลวไฟจะเป็นสีขาวสว่างจ้า โลหะลิเทียมจะติดไฟและไหม้เมื่อกระทบกับออกซิเจนและน้ำ ลิเทียมมีความจุความร้อนจำเพาะ ที่สูงมาก คือ 3582 J และมีช่วงอุณหภูมิที่กว้างเมื่ออยู่ในรูปของเหลว ซึ่งทำให้เป็นสารเคมีที่มีประโยชน์ใช้งานได้
ลิเทียมที่อยู่ในรูปโลหะบริสุทธิ์จะติดไฟได้ง่ายมากและระเบิดได้ค่อนข้างง่าย เมื่อกระทบกับอากาศ และโดยเฉพาะกับน้ำ ไฟจากลิเทียมนั้นดับได้ยาก ต้องอาศัยสารเคมีเฉพาะที่ผลิตมาสำหรับการดับไฟนี้โดยตรง สำหรับโลหะลิเทียมยังสึกกร่อนง่าย และต้องจับต้องอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลียงการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในรูปของสารประกอบที่ไม่ทำปฏิกิริยา เช่น แนพธา (naphtha) หรือไฮโดรคาร์บอน เป็นพิษพอสมควร เมื่อใช้เป็นยา จะต้องคอยตรวจสอบอย่างระมัดระวัง เพราะลิเทียมไอออน (Li+) จะทำให้เลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น